ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
ศูนย์ศึกษาแห่งนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักวิชาการไทยและญี่ปุ่นในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา (Ayutthaya Historical study Centre) ขึ้นในปี พ.ศ. 2529 โดยมองว่าอยุธยานอกจากจะเป็นอดีตเมืองหลวงของสยามที่มีอายุยืนยาวถึง 417 ปี และได้วางรากฐานทางวัฒนธรรมให้กับประเทศไทยสมัยใหม่แล้วยังเคยเป็นศูนย์กลางของสังคมการค้าในอุษาคเนย์ในระยะเวลาหนึ่งด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เราไม่อาจรู้จักและไม่อาจเข้าใจประเทศไทยและภูมิภาคอุษาคเนย์ได้อย่างชัดเจน หากละเลยที่จะเข้าใจสังคมอยุธยาในประวัติศาสตร์
ความตั้งใจของนักวิชาการไทย-ญี่ปุ่นดังกล่าว ได้ปรับขยายจากข้อเสนอของสมาคมไทย-ญี่ปุ่น และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ให้มีการปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่นมาเป็นการจัดตั้งศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาแทน และมีความตกลงร่วมกันระดับรัฐบาล โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 999 ล้านเยน (ประมาณ 170 ล้านบาทในเวลานั้น) เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ. 2530 และเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น ครบรอบ 600 ปี

อาคารของศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนแรกเป็นส่วนหลักตั้งอยู่ในเกาะเมืองอยุธยาติดกับสถาบันราชภัฏอยุธยา
ส่วนที่สองเป็นส่วนผนวกตั้งอยู่บริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นในสมัยอยุธยา ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ใต้วัดพนัญเชิง
บริการที่ศูนย์ฯ ให้แก่บุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวางในขณะนี้คือ นิทรรศการถาวร ซึ่งประกอบด้วย แผนที่ แบบจำลองต่าง ๆ อีกทั้งยังใช้เสียงและภาพเคลื่อนไหว เพื่อสร้างความเข้าใจอีกด้วย

ตัวนิทรรศการนั้นประกอบด้วย 5 แนวเรื่องเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา คือ
1) ในฐานะเมืองราชธานี
2) ในฐานะเป็นเมืองท่า
3) ในฐานะเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการปกครอ
4) ชีวิตชาวบ้านในสมัยก่อน
5) ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับต่างประเทศ

[mappress mapid=”1696″]

Related posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *