ภูพระ อยู่ในบริเวณวัดศิลาอาสน์ ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 201 เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มีโบราณวัตถุ คือ รอยสลักหินเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจ้าองค์ตื้อ” อยุ่ในเขต ท้องที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ
พระเจ้าองค์ตื้อ มีลักษณะพระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่ พระชงฆ์ หน้าตักกว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุต เรียกว่า รอบ ๆ พระพุทธรูปองค์นี้มีรอยแกะหินเป็นรูปพระสาวกอีกหลายองค์ ฐานว่าอาจจะสร้าง ในสมัยรุ่นราวคราวเดียวกับปรางค์กู่ ก็เป็นได้ พระพุทธรูปเหล่านี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 ( ราว พ.ศ. 1701 – พ.ศ. 1900 )
ทุก ๆ ปี จะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ ขึ้นไปกราบไหว้พระเจ้าองค์ตื้อ ในวันขึ้น 13, 14 และ 15 ค่ำ เดือน 5 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้คนเลื่อมใสว่า “หมอรักษาเป็นหมอลำ” ให้การรักษาคนป่วย ขอให้หาย โดยบนบานต่อพระเจ้าองค์ตื้อจะได้สมความปรารถนา ในปี พ.ศ. 2483 พระวิบูลนิโรธกิจ อดีตเจ้าคณะจังหวัด ชัยภูมิ ( พระครูจรูญ นิโรธ เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ ขณะนั้นได้ขอตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ “ศิลาอาสน์” ) และปรับปรุงบริเวณสถานที่ ในปีต่อมาได้สร้างกุฏิ พระภิกษุได้จำพรรษอยู่ประจำมาตลอดจนทุกวันนี้
[mappress mapid=”2254″]