วัดสระบ่อแก้ว

วัดสระบ่อแก้ว

วัดสระบ่อแก้ว : เป็นวัดที่มีศิลปะการก่อสร้างเป็นแบบพม่าและเป็นวัด ที่ชาวพม่าสร้างขึ้นเพื่อปฏิบัติกิจทางศาสนาประวัติ ความเป็นมา มีชนชาวพม่า 3 เผ่าคือเผ่าพม่า เผ่าต่อสู้ และเผ่าไทยใหญ่หรือเงี้ยวที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสม ภารเืพื่อค้าขาย ทำงานในบริษัทที่ได้รับการสัมปทาน การทำไม้และขุดพลอยที่ตำบลบ่อแก้ว ต่อมาได้ภรรยา เป็นคนไทย ต่างก็นับถือพุทธศาสนาเช่นเดียวกับคนไทยใน จังหวัดแพร่แต่มีพิธีกรรมต่างๆ ที่แตกหต่างจากชาวไทย ทำให้มีอุปสรรคทั้งการใช้ภาษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมในการบำเพ็ญกุศลตลอดจนถึงทำนองในการสวดมนต์ ์ไหว้พระแม้แต่ภาษาบาลีก็ไม่เหมือนกับพระสงฆ์ไทยชาวพม่า จึงได้ร่วมใจกันสร้างวัดของ แต่ละกลุ่มชนขึ้นเพื่อเป็นที่ ทำบุญบำเพ็ญกุศลของตนขึ้นดังนี้ 1. วัดจองเหนือ (วัดจอมสวรรค์) สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2547 2. วัดจองกลาง (วัดสระบ่อแก้ว) สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2419 3. วัดจองใต้ (วัดต้นธง) สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน

ผู้่ริเริ่มสร้่างวัดนี้ คือ หม่องโพอ่านสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2419 เมื่อหม่องโพอ่านเสียชีวิต หม่องโพหยิ่น และภรรยาชื่อ อูนได้ร่วมกับชาวพม่า ุ ที่มาจากเมืองหงสาวดี เมื่องย่างกุ้งและเมืองมันตะเลย์ ปฏิสังขรณ์กุฏ ิ วิหาร โบสถ์ และพระเจดีย์ของวัดจองกลางอีกครั้งหนึ่งขณะนั้นวัดนี้มีพระ พม่าจำพรรษาเพียง1 รูป คือ พระอูมาลาเมื่อพระอูมาลามรณภาพ ก็ไม่มีพระพม่าจำพรรษา ไม่มีเจ้าอาวาสวัดนี้จีงกลายเป็นวัดร้างหลายป ี จนกระทั้ง พ.ศ. 2508-2509 ชาวพม่าตระกูลโพ คือหม่องโพเส่ง ภรรยาชื่อแม่จันทร์ ได้เป็นผู้อุปฏฐากจากวัดจองกลางและได้สืบเสาะหา พระพม่ามาเป็นเจ้าอาวาสและได้พระอู่ปัญญาสิรินันทะมา เป็นเจ้าอาวาส เมื่่่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2538เจ้าอาวาสรูป ปัจจุบันได้แ่ก่ หลวงพ่อสมนึก ขันติจาโรซึ่งได้รับการแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2540โบราณสถานและโบราณวัตถ ุที่สำคัญในวัดประกอบด้วย วิหารซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบพม่าเช่นเดียวกับ วัดจอมสวรรค์ คือจะเป็นทั้งโบสถ์ ศาลา กุฏิในอาคารหลังเดียวกันหลังคาเิดิมมุงด้วยไม้ต่อมาเมื่อมีการบูรณะ ใหม่จะใช้กระเบื้อง อุโบสถมีลักษณะ 2 ชั้น จะเปิดใช้เมื่อมีพิธีกรรมทางศาสนา พระพุทธรูปที่ประดิษฐานในวัดนี้เป็นพระพุทธรูปที่ำนำมาจากเมืองมันดะเลย์ ประเทศพม่า เป็นหินอ่อนก้อนเดียวจำลองจากพระมหาอัญมณีฉลุในเครื่องทรง แกะสลักด้วยฝีมือที่ ละเอียดและมีความประณีตมาก ปิดทองทั้งองค์ยกเว้นพระพักตรเนื่องจากองค์พระพุทธรูปจะปิดทอง์ หนามาร องค์พระจึงนิ่มชาวบ้านเรียกว่าพระเจ้าเนื้อนิ่ม ทุกเช้าเวลาตี 4จะต้องมีการสรงพระพักตรพระพุทธรูปด้วยน้ำอบ ์น้ำหอม การเดินทาง ตั้งอยู่เลขที่ 138 ถนนน้ำคือ ตำบลในเวียง อำเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง ประเภทการท่องเที่ยว วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

[mappress mapid=”476″]

Related posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *