พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต

พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต

พิพิธภัณฑ์ บริขารพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ
หลังจากที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้มรณภาพ ณ วัดป่าสุทธาวาส เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ หรือเมื่อ ๔๕ ปีที่ผ่านมาปรากฏว่าเครื่องอัฐบริขารและสิ่งของเครื่องใช้ของท่านพระอาจารย์ได้กระจายไปอยู่ในที่ต่าง ๆ เพราะบรรดาลูกศิษย์ของท่านได้นำไปเก็บรักษาบูชา เพื่อเป็นการเคารพบูชาและเป็นอนุสติหรือเพื่อความเป็นศิริมงคล

ลักษณะของพิพิธภัณฑ์บริขาร มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์บริขารมีรูปแบบเป็นรูปสี่เหลียมผืนผ้าชั้นเดียว คล้ายแบบบ้านทรงไทยประยุกต์ อิทธิพลของรูปแบบตัวอาคารพิพิธภัณฑ์บริขารน่าจะได้มาจากรูปแบบเถียงนา ถ้ำ เพิงผา ซึ่งในชีวิตของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นพระธุดงกรรมฐานอยู่ป่าและเที่ยวสันโดษเป็นนิสัยจนเป็นลักษณะที่โดดเด่น ตัวอาคารเป็นอาคารคอนกรีต มีลานด้านนอกโดยรอบตัวอาคาร พื้นภายในตัวอาคารเป็นหินอ่อนสีดำ พื้นภายนอกเป็นหิน

มีทางขึ้นทางด้านหน้าของตัวอาคารพิพิธภัณฑ์บริขารด้านทิศตะวันออก และมีทางขึ้นด้านหลังของตัวอาคารพิพิธภัณฑ์บริขารด้านทิศตะวันตก ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์บริขาร ทำประตูทางเข้าเพียงทางเดียว ทิศตะวันออก ไม่มีหน้าต่าง

ภายในตัวอาคารทำเป็นพื้นโล่ง และยกพื้นสูงทางด้านทิศตะวันตก (เหมือนเวที) เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะรมดำรูปเหมือนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เท่าขนาดองค์จริง ด้านหน้าของรูปหล่อโลหะ มีการจัดแสดงอัฐิธาตุที่เป็นพระธาตุ พร้อมทั้งดอกไม้เป็นเครื่องบูชา ประดับไว้อย่างสวยงาม เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา

บริเวณผนังด้านหน้าของตัวอาคารพิพิธภัณฑ์บริขาร เป็นภาพเล่าเรื่องของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งทำจากดินเผาเป็นภาพปั้นนูนสูง ส่วนกรอบประตู และบานประตูทำเป็นลายฉลุ และลานดุนด้านขดที่งดงาม บริเวณรอบ ๆ ของตัวอาคารพิพิธภัณฑ์บริขาร ถูกจัดให้เป็นสวนป่า มีพื้นที่พองามที่จะนั่งพักผ่อน ชื่นชมความงามของตัวอาคารพิพิธภัณฑ์บริขาร และรอบ ๆ บริเวณวัดป่าสุทธาวาส

[mappress mapid=”1183″]

Related posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *