วัดอัมพวัน ตั้งอยู่เลขที่ ๕๓ บ้านอัมพวัน ถนนเอเซีย กม.๑๓๐ ตำบลพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๑ ไร่ ๒ งาน ๘๐ ตารางวา สร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๑๗๕ สมัยกรุงศรีอยุธยา หลังจากได้สร้างวัดมั่นคงแล้ว ได้ดำเนินการสร้างอุโบสถขึ้น เสร็จเรียบร้อยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๑๙๙–๒๒๓๑ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึกในอุโบสถหลังเก่า ความว่า “คนจีนสร้างอุโบสถครั้นนำเรือกำปั่นทำการค้ากับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรี มากับฝรั่งชาติฮอลันดา สร้างอุโบสถเสร็จแล้วฝรั่งเพื่อนคนจีนได้ขอพระราชทานพระนาคปรกหินทั้งสององค์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คนจีนเอาไปไว้ในอุโบสถ” และพระพุทธรูปดังกล่าวนี้คงประดิษฐานอยู่ในอุโบสถหลังปัจจุบัน ในช่วงกรุศรีอยุธยาตอนปลายปีที่บ้านเมืองถูกข้าศึกรุกราน วัดนี้ก็ทรุดโทรมลงในช่วงหลังจากนั้นมา และได้รับการบูรณะพัฒนาขึ้นใหม่ แต่เพิ่งจะมาเจริญรุ่งเรืองมากในช่วงตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา ในสมัยที่หลวงพ่อได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้พัฒนาวัดทุกด้านจนได้รักบารยกย่องจากทางราชการให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ.๒๕๑๓ และจากการสำรวจทางราชการประมาณพุทธศักราช ๒๑๗๕ มีการสร้างพระอุโบสถผูกพัทธสีมา ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อรัชกาลที่ ๓ ครั้งที่ ๒ ได้รับพระราชทางวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๓ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร และได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๓ พื้นที่ตั้งวัดอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทางวัดได้จัดถนนคันคูป้องกันน้ำท่วมโดยรอบ มีถนนคอนกรีตแยกจากถนนสายเอเซีย เข้าถวึงวัด การคมนาคมและสะดวก อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มากมายของต้นไม้ทั่วไปนั้น ปลูกดอกไม้ ไม้ใบ สภาพปลูกใหม่ มีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในวัด เช่น การจัดให้มีโรงบำบัดน้ำเสีย และการจัดระบบขจัดขยะรอบบริเวณวัด
ปัจจุบันวัดอัมพวันเป็นที่อยู่พำนักของพระธรรมสิงหบุราจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งท่านมีปฏิปทาเป็นที่น่าเคารพเลื่อมใส นอกจากท่านจะเป็นนักบริหารแล้ว ยังเป็นนักปฏิบัติ และนักสอนที่รู้จิตใจคนทุกเพศทุกวัย และทุกชั้นวรรณะ ในรอบปีหนึ่ง ๆ ได้ดำเนินการจัดอบรมสอนการปฏิบัติกรรมฐาน บรรยายธรรม ปีละจำนวนมา วัดอัมพวันจึงเป็นที่รู้จักดีในหมู่ประชาชนทั่วไป
[mappress mapid=”963″]