วัดหลวง : ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านวัดหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.แพร่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1372 ทางกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้วัดหลวงเป็นโบราณสถานของชาติที่มี อายุเก่าแก่ นับพันปีแม้ว่าวัดหลวงจะเป็นวัดที่มีประวัติการก่อ สร้างมานาน ทว่าสภาพปัจจุบันของวัดยังสมบูรณ์มาก วิหารด้านในมี พระเจ้าแสนหลวง พระพุทธรูปขนาดใหญ่ประทับนั่งปางสมาธิสร้างโดยศิลปะ ล้านนาผสมกับสุโขทัย สภาพวิหารหลวงอยู่ในสภาพสมบูรณ์เนื่องจากได้รับ การบูรณะปฏิสังขรณ์มาตลอด ด้านหลังของวิหารเป็นที่ตั้งของพระธาตุหลวง ไชยช้างค้ำเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุที่นำมาจากเมืองหงสาวดีวัดหลวง มีประตูวัดที่เก่าแก่ เรียกว่า “ประตูโขง”ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของ เจ้าเมืองแพร่ สำหรับโบสถ์ของวัดหลวงมีชื่อว่า”โบสถ์เจ้าผู้ครองนคร”
โบราณวัตถุที่น่าสนใจของวัดหลวง ได้แก่ กลุ่มพระพุทธรูป ซึ่งมีจำนวนหลายองค์ จารึกอายุ 500ปี ศิลาจารึกเจ้าผู้ครอง นครวัดหลวงมีอาคารไม้สักหลังหนึ่ง ชื่อว่า “หอวัฒนธรรม เมืองแพร่” เป็นที่รวบรวมศิลปะพื้นบ้าน เช่น หีบสมบัติโบราณ โลงไม้แกะสลัก และสิ่งที่น่าสนใจในวัดหลวง คือ คุ้มพระลอ ซึ่งเป็นบ้านไม้หลัง กะทัดรัด ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับหอวัฒนธรรม เมืองแพร่เป็นอนุสรณ์สถานครั้งที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จทัศนศึกษา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ด้านล่างของคุ้ม มีเครื่องทอผ้าและล้อเกวียนเก่าจำนวนหนึ่งชั้นบนเป็นที่เก็บของ โบราณ เช่น เตารีดสมัยโบราณแบบใช้ถ่าน เครื่องทอฝ้าย ร่มโบราณ ไม้แกะ สลัก ฯลฯ และมีรูปถ่ายของแม่เจ้าบัวถา ชายาของเจ้าเมืองแพร่องค์หนึ่งรวมทั้งรูปถ่ายของ บ้านเจ้าเมืองแพร่ซึ่งเป็นต้นตระกูลเจ้าอาวาสวัดหลวงองค์หนึ่ง
ประวัติของวัดกล่าวไว้ว่า วัดหลวงสร้างมานานนับพันปี มีการสร้างวัดขึ้นในบริเวณทิศตะวันตกของคุ้มเจ้าหลวงเมื่อปี พ.ศ.1372 คือ มีการสร้างวิหารหลวงพลนคร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวง พระประธานของเมืองพลนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 1600 ชนชาติขอมได้ยกทัพเข้ารุกรานเมืองพลนคร ได้เผาทำลายเมืองรวมทั้งวัด และได้เผาลอกเอาทองหุ้มพระเจ้าแสนหลวงไป จากนั้น ขอมได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “เมืองโกศัย” จนถึง พ.ศ.1719 เมื่อพม่าขยายอิทธิพลมาสู่ดินแดนล้านนาและขับไล่ขอมออกไป พม่าได้เรียกเมืองพลว่า “เมืองแพล” ต่อมา พญาพีระไชยวงศ์ เจ้าเมืองแพลได้ทำไมตรีกับพม่าและร่วมกับส่างมังการะเจ้าเมืองพม่า ทำการบูรณะวัดหลวง เจ้าเมืองแพลและชาวเมืองแพลได้ร่วมกันสร้างพระธาตุหลวงไชยช้างค้ำพร้อมกับได้หุ้มทองพระเจ้าแสน หลวงและให้ชื่อวัดเสียใหม่ว่า “วัดหลวงไชยวงศ์”
[mappress mapid=”481″]