วัดเกาะหงษ์

วัดเกาะหงษ์

วัดเกาะหงษ์ ต.ตะเคียนเลื่อน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เป็นวัดสำคัญที่มีชื่อเสียงทางพุทธาคมมาแต่อดีต และยังสืบทอด วิชาเหยียบฉ่า รักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต วิชาประสานกระดูก โดย พระใบฎีกาบุญชู เจ้าอาวาสวัดเกาะหงษ์ซึ่งเป็นศิษย์ก้นกุฏิ ของ พระครูนิโรธธรรมยุต (หลวงพ่ออินทร์)
เดิมที่นั้น บริเวณรอบๆ วัดเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวมอญ อพยพเข้ามาพักอาศัย มาแต่กรุงศรีอยุธยา โดยได้ก่อสร้างวัดขึ้น เป็นศูนย์รวมจิตใจ หลักฐานทางโบราณสถานสำคัญของวัด คือ อุโบสถเก่า ซึ่งที่หน้าบันมีประติมากรรมปูนปั้นรูป นารายณ์ขี่ครุฑจับนาค อันงดงาม และมีรอยพระพุทธบาท บนผนังโบสถ์ อายุมากกว่า ๒๐๐ ปี
นอกจากนี้ยังมี พระสังกัจจายน์ยืน ซึ่งมีความงดงาม และมีความศักดิ์สิทธิ์ นำมาซึ่งโภคทรัพย์แก่ผู้สักการบูชาเป็นยิ่งนัก ทั้งนี้เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง เสด็จประพาสต้น วัดเกาะหงษ์ เพื่อทอดพระเนตรโบราณสถานอันงดงาม และทอดพระเนตรพระสังกัจจายน์ยืน หนึ่งเดียวในสยาม ทรงมีพระราชศรัทธา โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปสู่พระนคร
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดเกาะหงษ์ เป็นอารามของพระอมตะเถราจารย์ชื่อดังเมืองนครสวรรค์ คือ หลวงปู่อินทร์ ซึ่งเป็นศิษย์เอกของ หลวงปู่กัน ที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณที่โด่งดัง สืบต่อจาก หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
โดยเฉพาะ วิชาประสาน (ต่อ) กระดูก และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูนิโรธธรรมประยุตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ หลวงปู่อินทร์ มรณภาพเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๑๓ สิริอายุได้ ๘๘ ปี แต่กายสังขารของท่านไม่เน่าสลาย แข็งเหมือนหิน ประดิษฐานในโลงแก้ว บนศาลาการเปรียญวัดเกาะหงษ์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวปากน้ำโพ มาจนทุกวันนี้
วัดเกาะหงษ์ เป็นวัดเก่าแก่ อายุกว่า 200 ปี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันตก บริเวณบ้านเกาะหงษ์ ต. ตะเคียนเลื่อน อ. เมืองฯ อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ตามเส้นทางสาย นครสวรรค์ – โกรกพระ ( ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 3327 ) ประมาณ 10 กม.

ชุมชนเดิม เป็นกลุ่มเชื้อสายมอญ ก่อตั้งประมาณ พ.ศ. ๒๓๓๖ ภายในบริเวณวัด มีพระวิหารลักษณะศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง รูปเทพชุมนุมหลายองค์ เขียนต่อเนื่องกันไป แบบงานจิตรกรรมสมัยอยุธยา

โดยมีความแตกต่างจากแห่งอื่น ที่เห็นได้ชัดคือมีรอยพระพุทธบาทจำลองปรากฏอยู่บนฝาผนัง สำหรับของล้ำค่าอื่น ๆ เช่น จิตรกรรมไทยบนสมุดข่อย ภาษามอญมีภาพประกอบ และ ลงรักปิดทองสวยงามมาก

พระสังกัจจายน์ยืนมือกุมท้องโดยองค์ที่ปรากฏอยู่ ในปัจจุบันเป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่ สำหรับองค์เดิม ได้มีหลักฐานปรากฏว่ารัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสทางเหนือในปี พ.ศ. 2449 (ร.ศ.125) และ ได้ทรงแวะที่วัดนี้ด้วย พระองค์ได้เสด็จขึ้นไปทรงนมัสการพระประธานในอุโบสถ ทรงเห็นพระกัจจายน์(พระสังกัจจายน์ยืน)

ทรงพอพระทัยเป็นอันมาก จึงได้ขออัญเชิญพระกัจจายน์นั้นไป แล้วพระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน 1 ชั่ง (80 บาท) เพื่อให้จัดสร้างขึ้นใหม่ แทนซึ่งก็คือองค์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ความอัศจรรย์ที่ท่านสามารถพบเห็น ได้ในปัจจุบันอีกอย่างหนึ่งคือ การรักษาโรคด้วยวิธีเหยียบฉ่า โดยหมอจะนำเท้าจุ่มสมุนไพร แล้วนำไปเหยียบแผ่นเหล็ก ที่กำลังเผาไฟจนร้อนจัด ขณะเหยียบเหล็ก จะเกิดเปลวไฟลุกท่วมเท้า จากนั้นก็นำมาเหยียบผู้ป่วย บริเวณที่มีอาการเจ็บป่วย ซึ่งนับว่าเป็นการรักษาโรคแบบโบราณ ที่มีความอัศจรรย์มาก ซึ่งสืบทอดกันมากกว่าร้อยปี

วัดเกาะหงส์ที่หลวงปู่อินทร์อยู่นี้ ไม่ทราบว่าสร้างมาแต่ครั้งใด เพียงแต่ทราบว่ามีการบูรณะมาหลายครั้งแล้ว เมื่อหลายปีมานี้นักโบราณคดี กรมศิลปากรมาที่วัดเกาะหงษ์ สอบถามว่าใครเคยไปขุดตะกรุดที่บ้านบ่อดินสอพอง แล้วพบโครงกระดูกมนุษย์บ้าง ต้องการให้พาไปดูสถานที่ เพราะกระดูก มนุษย์มีอายุ 2,000 ปีมาแล้ว

เนื่องจาก พบเครื่องใช้และเครื่องแต่งกาย เช่น ขวานฟ้า กำไรหิน เป็นต้น ได้สอบถามโบราณคดีว่า อุโบสถวัดเกาะหงษ์หลังเก่า เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ชิ้นหนึ่ง อยากทราบว่าสร้างมาแต่ครั้งไหน เขาวัดความสูง ความยาวของแผ่นอิฐ แล้วสันนิฐานว่า สร้างมาแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา คิดคำนวณดูก็คงราวๆ 200 ปีก่อนสร้างกรุงเทพฯ

ต่อมาได้อ่านประวัติการเสด็จประพาสต้น ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 รวบรวมโดย พ.ต.ละม้าย อุทยานานนท์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2505 เขียนไว้ว่า วันที่ 12 เวลาเที่ยงถึงวัดเกาะ หยุดสำหรับกินข้าว ขึ้นบกพบสมภาร อายุ 87 ปี เคี้ยวจัดเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์ ตาบอดข้างหนึ่ง แต่รูปร่างเปล่งปลั่ง วัดใหญ่รักษาสะอาด มีตึกอย่างเก่า 2 หลัง ในโบสถ์จารึกว่า สร้างเมื่อศักราช 1155 มีของประหลาดแต่พระสังกัจจายน์ยืน รูปร่างดี ได้ขอแล้วถวายเงินไว้ให้สร้างใหม่ ที่ว่า วันที่ 12 นั้นตรงกับเดือนตุลาคม พ.ศ.2444 จึงพอทราบได้ว่า โบสถ์หลังเก่าอายุเท่าไร

[mappress mapid=”100″]

Related posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *