
เป็นที่รู้กันว่าเทศกาลเข้าพรรษาเป็นช่วงเวลาที่รวมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ถึงสองวันด้วยกัน คือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จังหวัดสุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ในงาน
“มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง”
เรียกได้ว่างานใหญ่สมคำล่ำลือกันจริงๆ กับงาน “มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง”
โดยปีทุกจะมีการจัดงานขึ้น 2 วัน บรรยากาศในบ่ายวันแรกของงานคือมีขบวนแห่เทียนพรรษาที่สวยงามตระการตา ขบวนฟ้อนรำศิลปวัฒนธรรมของชาวจังหวัดสุรินทร์จาก 12 คุ้มวัดชื่อดังในจังหวัด
เหตุที่นำช้างมาร่วมงานนั้นเนื่องจากจังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่มีช้างเยอะที่สุดในประเทศ ทางหน่วยงานต่างเห็นความสำคัญของช้างและเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่สืบไปเรามาย้อนกลับไปถึงความเป็นมาของวันพรรษากันดีกว่า เพราะมีบางความเชื่อที่บอกเล่าเว่าสู่ฟังมาว่า จุดเริ่มต้นนั้นเกิดขึ้นจากศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เมื่อวัวตายจะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ เพราะถือว่าวัวเป็นพาหนะของพระอิศวร แต่ชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยการเอารังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้งแล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็กๆ มีความยาวตามต้องการใช้จุดบูชาพระ ในพุทธกาลวันเข้าพรรษาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ในฤดูฝน ระหว่างแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เพื่อไม่ให้ไปเหยียบย่ำต้นกล้าของชาวนาเสียหายและมีสิ่งที่สำคัญ 2 อย่างได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษาและการถวายผ้าอาบน้ำฝน แต่ประเพณีแห่งเทียนพรรษาที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่นำถวายเพื่อใช้ในการทำกิจวัตรต่างๆ
ขณะเดียวกันในเช้าวันงานอีกวันซึ่งเป็นวันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ เกิดดวงตาเห็นธรรมและความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้าจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน ทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ดังนั้นวันอาสาฬหบูชาจึงถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันเกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนา และเพื่อให้ชาวพุทธต่างระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ยึดมั่นในหลักความดี ทั้งยังช่วยเสริมสร้างจิตใจให้เราดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสุขอีกด้วยจึงทำให้เราได้ชมกับอีกมหกรรมงานบุญคือการ “ตักบาตรบนหลังช้าง” โดยฤกษ์งามยามดีเวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งมีที่เดียวในโลก ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ใจกลางเมืองสุรินทร์นั่นเอง
สนใจสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ โทร. 0 4451 2039 หรือ www.surin.go.th , การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0 4451 4447-8
[mappress mapid=”295″]