เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ตั้งอยู่ในท้องที่ ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
ระหว่างเส้นละติจูดที่ 103 องศา 01 ลิปดา 30 ฟิลิปดา เส้นลองติจูดที่ 15 องศา 45 ลิปดา 57 ฟิลิปดา ระวางที่ 5640 IV พิกัด 48 QUC 891442 พิกัด 889445
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาเชือกประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 343 ไร่

ได้มีการค้นพบปูน้ำจืดซึ่งมีสีสันสวยงามชนิดใหม่ของโลกในปี พ.ศ. 2536
ในพื้นที่ป่าดูนลำพัน ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
ภายหลังได้ขอพระราชทานชื่อว่า “ปูทูลกระหม่อม” ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งเดียวที่พบปูชนิดนี้ ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ผืนป่าดูนลำพันแห่งนี้ตลอดจนทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่ารวมทั้งเพื่อเป็นการป้องกันภัยคุกคามและปัญหาการบุกรุกพื้นที่และระบบนิเวศ ซึ่งจะส่งผลให้ปูทูลกระหม่อมสูญพันธุ์ได้ ทางจังหวัดมหาสารคามและกระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมจึงร่วมกัน
พิจารณาประกาศให้พื้นที่ป่าดูนลำพัน เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยออกเป็นประกาศกระทรวงฉบับที่ 7 เมื่อปี พ.ศ.2539 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535

ต่อมากรมป่าไม้โดยส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจพบว่านอกจากปูทูลกระหม่อมแล้ว
ป่าดูนลำพันแห่งนี้ยังมีความหลากหลายทางธรรมชาติ ทั้งพืชพันธุ์และสัตว์ป่า
จึงได้ดำเนินการเสนอต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2541 โดยนายปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดให้พื้นที่สาธารณประโยชน์ป่าดูนลำพัน
ในท้องที่ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคามให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนพิเศษ 40ง ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2542

สภาพพื้นที่ป่าของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันมีลักษณะค่อนข้างพิเศษคือพื้นที่ที่อยู่ด้านทิศตะวันออก ของคลองชลประทาน มีสภาพป่าเป็นป่าเต็งรังไม้เด่นได้แก่ ไม้แสบงหรือไม้กราด และต้นรวงไซ พืชสมุนไพรที่พบเช่นโด่ไม่รู้ล้ม ขี้อ้น หยาดน้ำค้าง เป็นต้น ส่วนพื้นที่ป่าที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของคลองชลประทาน มีสภาพป่าที่มีลักษณะเป็น ป่าผสมกล่าวคือป่ากึ่งดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ
และสภาพคล้ายป่าพรุ ไม้เด่นที่พบมากได้แก่ ต้นเชือกหรือต้นรกฟ้า ต้นผลู ต้นหว้า ไผ่ป่า ต้นข่อย ต้นแคทุ่ง เฟิน นอกจากนี้ยังมีพืชที่จัดเป็นพืชสมุนไพรมากมายหลายชนิด ได้แก่ เครือเอ็นอ่อน เถาเอ็นอ้า แก้วมือไว ว่านแผ่นดินเย็น กวาวเครือ เท้ายายหม่อม กล้วยไม้ที่พบในป่าดูนลำพันมีหลายชนิด เช่น กะเรกะร่อน คูลู เป็นต้น

[mappress mapid=”1506″]

Related posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *