สถานที่เก่าบอกเล่าประวัติสังขละบุรี เมื่อครั้งที่เป็นอยู่ก่อนจมน้ำ
วัดศรีสุวรรณ(เก่า)
ในช่วงการปกครองของพระศรีสุวรรณองค์ที่ 5 ได้ย้ายที่ทำการเมืองลงตั้งที่บ้านวังกะ พื้นที่นี้เหมาะแก่การตั้งเมืองมากเพราะมีแม่น้ำที่ไหลมาบรรจบกันถึงสามสายคือ แม่น้ำบีคี่ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำรันตี และสะดวกกับการเดินทางติดต่อกับภายนอก พร้อมทั้งเป็นกลาง ระหว่างหมู่บ้านต่างๆที่อยู่ในเขตการปกครอง และเมืองสังขละบุรีได้แบ่งการปกครองเป็น 3 หัวเมือง คือเมืองสังขละบุรี เมืองอุ้มผาง เมืองศรีสวัสดิ์จนกระทั่งเปลี่ยนระบบการปกครองเมื่อ 2475 เมืองสังขละบุรีจึงเป็นอำเภอสังขละบุรีในขึ้นต่อจังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบัน
จนกระทั่งในปี 2529 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่อำเภอทองผาภูมิ เมื่อการไฟฟ้าเก็บกักน้ำอำเภอสังขละบุรีจึงจมน้ำอยู่ใต้ท้องเขื่อนเขาแหลม อำเภอสังขละบุรีจึงย้ายขึ้นมาอยู่ในที่ตั้งที่ว่าการในปัจจุบัน หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองตรงกับสมัยพระศรีสุวรรณคีรีองค์ที่ 5 ทางการได้จัดตั้งการปกครองเป็นอำเภอ ได้แต่งตั้งพระศรีสุวรรณคีรีเป็นนายอำเภอสังขละบุรี
วัดสมเด็จ(เก่า)
ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองบาดาล เป็นอุโบสถของวัดสมเด็จ (เก่า) ที่ถูกทิ้งร้าง เมื่อคราวย้ายเมืองสังขละบุรี ตอนที่เริ่มมีการสร้างเขื่อนเขาแหลม (เขื่อนวชิราลงกรณ ในปัจจุบัน) วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ ไม่ได้จมอยู่ใต้น้ำ ภายในอุบโบสถมีพระประธานสภาพยังค่อนข้างสมบูรณ์ รอบตัวโบสถ์มีต้นไทรใหญ่ปกคุลมดูขลังและเก่าแก่ งดงามยิ่งนัก สามารถเที่ยวต่อหลังจากแวะชมเมืองบาดาล
ทริปล่องเรือวัดจมน้ำ ของสังขละบุรี ซึ่งมีอยู่ 3 วัด คือ วัดศรีสุวรรณ วัดวังก์วิเวการามเก่า และวัดสมเด็จเก่า ซึ่งอยู่บนเนินเขา ทั้ง 3 วัด เสมือนตัวแทนของ 3 ชนชาติ คือ ชาวมอญ ชาวกระเหรี่ยง และชาวไทย
ว่ากันว่าในบรรดาวัดของทริปล่องเรือนั้น มี 2 วัดที่จมอยู่ใต้น้ำ หรือโผล่พ้นเหนือน้ำ นั่นก็คือวัดวังก์วิเวการามเก่า หรือวัดหลวงพ่ออุตตมะ และวัดศรีสุวรรณนี่เอง ส่วนอีกวัดหนึ่งนั้นคือวัดสมเด็จเก่า ซึ่งอยู่บนเนินเขา ทั้ง 3 วัด เป็นเสมือนตัวแทนของ 3 ชนชาติ นั่นก็คือ
วัดวังก์วิเวการาม คือ วัดของชาวมอญ
วัดศรีสุวรรณ คือ วัดของชาวกระเหรี่ยง
วัดสมเด็จ คือ วัดของชาวไทย
[mappress mapid=”277″]