เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก
ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ของบ้านเชียงนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่ ภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี มีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็กด้วย ภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดงแล้ว ภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน การเดินทาง ประวัติศาสตร์ไทย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บ้านเชียง ประมาณ 2500 ก่อน พ.ศ. บ้านเก่า ประมาณ 2000 ก่อน พ.ศ. ยุคอาณาจักร สุวรรณภูมิ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3-5 โจฬะ พุทธศตวรรษที่ 2-17 สุวรรณโคมคำ พศว. 4-5 ทวารวดี-นครชัยศรี ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 5-15 โยนกนาคพันธุ์ 638-1088 คันธุลี 994-1202 เวียงปรึกษา 1090-1181 ศรีวิชัย 1202-1758 ละโว้ 1191 -1470 หิรัญเงินยางฯ 1181 – 1805 หริภุญชัย 1206-1835 สงครามสามนคร พ.ศ. 1467-1470 สุพรรณภูมิ ละโว้ ตามพรลิงค์ พริบพรี นครศรีธรรมราช สุโขทัย 1792-1981 พะเยา 1190-2011 เชียงราย 1805-1835 ล้านนา 1835-2101 อยุธยา (1) พ.ศ. 1893-2112 สค.ตะเบ็งชเวตี้ สค.ช้างเผือก เสียกรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 พิษณุโลก 2106-2112 ล้านนาของพม่า 2101-2317 กรุงศรีอยุธยา (2) พ.ศ. 2112-2310 เสียกรุงครั้งที่ 2 สภาพจลาจล กรุงธนบุรี พ.ศ. 2310-2325 ล้านนาของสยาม พ.ศ. 2317-2442 นครเชียงใหม่ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน สงครามเก้าทัพ อานามสยามยุทธ การเสียดินแดน มณฑลเทศาภิบาล สงครามโลก: ครั้งที่ 1 – ครั้งที่ 2 ยุครัฐประชาชาติ ประเทศไทย ปฏิวัติ พ.ศ. 2475 เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ สหรัฐไทยเดิม พ.ศ. 2485-2489 การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง สามารถขับรถตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง
[mappress mapid=”734″]