วัดที่ว่ามีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า “วัดลี” เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดของพะเยา โดยคำว่า “ลี” นั้นเป็นคำโบราณของถิ่นเหนือ แปลว่า “ตลาด” เนื่องจากวัดลีอยู่ในย่านชุมชนตลาด
ที่ ตั้งของวัดลี อยู่ข้างๆ โรงเรียนเทศบาล 3 คือถ้าเริ่มจากสะพานข้ามแม่น้ำอิง มุ่งหน้าไปทางเชียงราย ให้มองขวามือจะเห็นศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ทางเข้าพิพิธภัณฑ์วัดลีจะอยู่ระหว่างโรงเรียนบุญสิษฐ์วิทยากับโรงเรียน เทศบาล 3
“วัดลี” มีปูชนียสถานที่สำคัญคือ “พระธาตุวัดลี” พระธาตุแปดเหลี่ยมสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2038 เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองพะเยาและประชาชนโดยทั่วไป
ส่วนพระพุทธรูปที่ชวนให้ไปดูนั้นอยู่ภายใน “พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)” ซึ่งก็คือศาลาการเปรียญหลังเก่า ที่เพิ่งได้รับการยกฐานะเป็นพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา “จัดแสดงโบราณวัตถุกว่า 10,000 ชิ้น”
“ที่นี่มีพระพุทธรูปที่เป็นฝีมือของช่างพื้นบ้านมากมาย ทั้งที่เป็นพระปูน พระหิน และพระไม้” ส่วนของพิพิธภัณฑ์คือ ศาลาการเปรียญเก่า ที่เห็นเป็นแผ่นหินมีหลุมตรงกลางคือ ส้วมพระ เศียรพระพุทธรูปหินทราย สกุลช่างพะเยา สูง 55 ซม. พระสาวกหินทราบ อายุราว พ.ศ.20-21
เดินดูทั้งวันก็ไม่เบื่อ เพราะแต่ละองค์ล้วนเป็นงานแฮนด์เมด ต้องพินิจกันแบบจดจ่อองค์ต่อองค์ โดยเฉพาะส่วนของพระพักตร์นั้น มีลักษณะกลมๆ แป้นๆ แบบชาวล้านนา บางองค์พระเนตรเรียวรี หูกางๆ คิ้วโก่ง ริมฝีปากยิ้มเยื้อนอย่างใจดี บางองค์นั่งสมาธิหลับตาพริ้ม
ไม่รวมศิลาจารึกอีกหลายหลักที่เป็นหินทราย ยังมีหินทรายที่ทำเป็นเจดีย์จำลอง ประติมากรรมรูปบุคคล รูปสัตว์ เนื่องจากที่ “ดอยผาเกี๋ยง” ใกล้ๆ กับแม่น้ำอิง เป็นแหล่งหินทรายขนาดใหญ่ และมีคุณภาพดี ที่กรมศิลปากรเคยมาสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2531 พบเครื่องมือหินขัด บ่อหินทราย ที่มีร่องรอยการตัดหินไปใช้ทำชิ้นส่วนพระพุทธรูปและรูปจำหลักอื่นๆ หรืออย่างที่ลำห้วยแม่ตุ่น ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของกว๊านพะเยา ก็เป็นแหล่งหินทรายที่ยังใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
ที่น่าทึ่ง คือ ไม่เพียงแต่จัดแสดงศิลาจารึก ยังมีศิลาจารึก (หลักที่ 27) ที่กล่าวถึงประวัติของวัดลีอีกต่างหาก ความว่า… เมื่อ ปีจุลศักราช 857 หรือ ปี พ.ศ.2038 ตรงกับสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่) พระเจ้ายอดเชียงรายได้มีพระราชโองการให้ เจ้าหมื่นหน่อ เทพครู ผู้เป็นพ่อครูหรือพระราชครูของพระเจ้ายอดเชียงราย
ขณะนั้นมากินตำแหน่งเป็น “เจ้าสี่หมื่นพะเยา” ฐานะเป็นเจ้าผู้ครองเมือง ได้มาสร้างวัดลีเพื่อเป็นการถวายส่วนบุญ ส่วนกุศลแด่พระเจ้ายอดเชียงรายกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ เจ้าสี่หมื่นพะเยาได้มากระทำพิธีฝังหินกำหนดเขตวัดและผูกพัทธสีมาเป็นอุโบสถ ไว้กับวัดลี เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9 เหนือ พ.ศ.2038 พระพุทธรูปหินทราย จารึกที่ฐานพระมักใช้อักษรธรรมระบุวันเดือนปีที่สร้าง
ส่วนหนึ่งของเศียรพระพุทธรูป ท่านพระครูบุรานันท์ เจ้าอาวาสวัดลี พระมหาเถรปัญญาวังสะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดลี ต่อมาเมื่อเกิดสงครามระหว่างล้านนากับพม่า ทำให้พะเยาเป็นเมืองร้างเป็นเวลานาน วัดวาอารามส่วนใหญ่ก็ถูกทิ้งร้างนานหลายร้อยปี
วัดลีได้รับการ ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในช่วง พ.ศ.2463-2478 โดยพระครูบาศรีวิชัย แล้วนิมนต์ ครูบาแก้วมูลญาณวุฑฺฒิ ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดพระเจ้าตนหลวง มาเป็นเจ้าอาวาสวัดลี กระทั่งมรณภาพในปี พ.ศ.2510 พระศรีทอนขึ้นรักษาการเจ้าอาวาส ภายหลังในปี พ.ศ.2512 ได้ลาสิกขา คณะกรรมการวัดและศรัทธาวัด จึงได้นิมนต์พระบุญชื่น ฐิตธมฺโม จากวัดแม่ต๋ำเมืองชุม ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดลี สืบต่อจนถึงปัจจุบัน
[mappress mapid=”1660″]