จากหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานฉลองวัดศรีบุญเรือง อำเภอเมืองแพร่ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้กล่าวถึงประวัติวัดไว้ตอนหนึ่งว่า ไม่ปรากฏหลังฐานแน่ชัดว่า ใครเป็นผู้สร้างวัดนี้และสร้างในสมัยใด แต่ประมาณว่า สร้างกันมาหลายร้อยปีแล้ว จาการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ที่มีอายุยืนยาวและพอชื่อถือได้ว่า ประมาณ ๒๐๐ ปีเศษที่ล่วงมาแล้ว ผู้บูรณะซ่อมแซมวัดในครั้งกระโน้น คือ “พญาแสนศรีขวา” ผู้เป็นเชื้อพระวงศ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือ และบุตรของท่านชื่อ “พระยาประเสริฐชนะสงครามราชภัคดี” ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้สืบเรื่อยมา ต่อมา “แม้เจ้าคำป้อ” ซึ่งเป็นบุตรของพระยาประเสริฐฯ ได้สมรสกับ “พระวิชัยราชา” (นามเดิมว่า ขัติ หรือเจ้าหนานขัติ) ผู้เป็นบุตรของเจ้าแสนเสมอใจลูกหลานคนหนึ่งของเจ้าหลวงเทพวงศ์ ลิ้นทอง เจ้าผู้ครองนครเมืองแพร่ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ถึง ๒๓๗๓ เจ้าหนานขัติเองเป็นต้นตระกูล “แสนสิริพันธ์”ส่วนน้องชายท่านเจ้าเทพวงศ์เป็นต้นตระกูล “ผาทอง” และ “วงศ์วรรณ” พระวิชัยราชาผู้นี้ได้รับปูนบำเหน็จความดีความชอบในการที่ได้นำคนไทยที่เป็นข้าราชบริพารจากส่วนกลาง ๓ คน ไปหลบซ่อนตัวอยู่บนเพดานคุ้มวิชัยราชาจนรอดพ้นจากการติดตามไล่สังหารของกลุ่มกบฏเงี้ยว ที่เข้าทำการปล้นยึดเมืองแพร่ และสังหารข้าราชการบริพาร และครอบครัวไปกว่า ๓๐ กว่าคน เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๔๕ ซึ้งขณะนั้นเจ้าหนานขัติดำรงตำแหน่งเป็นคลังจังหวัดอยต่อมาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ได้มู่ ีพระบรมราชโองการให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกทัพหลวงขึ้นมาปราบปรามผู้ก่อการครั้งนี้จนราบคาบและต่อมาเมื่อ วีรกรรมนี้ทราบไปถึงพระกรรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “พระวิชัยราชา” เล่ากันว่าพระองค์ทรงโปรดและไว้วางพระทัยในตัวของพระวิชัยราชาถึงขนาดเลยพักที่ คุ้มวิชัยราชาเมื่อครั้งสมเด็จผ่านเมืองแพร่อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งข้อเท็จจริงไม่มีใครสามารถยืนยันได้ และผู้ที่เล่าเรื่องนี้ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ได้เสียชีวิตไปนานแล้ว ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า “พ่อเจ้าพระฯ” สร้างคุ้มวิชัยราชานี้เมื่อใด แต่เป็นที่แน่นอนว่าได้สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ซึ่งเป็นปีที่เจ้าวงศ์ แสนสิริพันธ์ บุตรของท่านเกิด ณ ที่บ้านหลังนี้ในปีถัดมาท่านจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างถาวร วัตถุให้วัดศรีบุญเรือง จากประวัติวัดศรีบุญเรืองและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และจากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่แถวคุ้มและบริเวณสีลอ ตลอดจนไล่เรียงศึกษาอายุของ “พ่อเจ้าพระฯ” และลูกหลานของท่านรวมทั้งคำบอกเล่าของอาจารย์โสภา วงศ์พุฒ ที่ได้กล่าวถึงคุณยายที่ได้เสียชีวิตไปกว่า ๒๐ปีมาแล้ว เมื่อตอนอายุเก้าสิบกว่า เล่าให้ฟังว่าเมื่อเกิดมาและจำความได้ ก็เห็นบ้านหลังนี้อยู่แล้วกอปรกับบริเวณที่ตั้งคุ้มวิชัย ราชาในปัจจุบันเป็นทำเลที่เหมาะเพราะเป็นเนินสูง สันนิษฐานว่าคงเป็นคุ้มของพระยาแสนศร ีขวามาก่อนแต่ในอดีต และสืบทอดกันมาจนถึงยุคสมัยของพระวิชัยราชา และแม่เจ้าคำป้อ ที่ได้สร้างคุมวิชัยราชา เรือนไม้สัก ทรงมะนิลา หลังงามนี้มาเป็นที่พักอาศัยแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จากข้อมูลเหล่านี้คาดว่าบ้านหลังนี้คงสร้าง ขึ้นระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๔-๒๔๓๘ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าบ้านหลังนี้จะมีอายุเก่าแก่เกินร้อยปีแต่ยังมีโครงสร้าง ที่มั่นคงแข็งแรง ทั้งยังได้รับการออกแบบอย่างสวยงามเหมาะเจาะกลมกลืนมีความงามที่ โดเด่นพร้อมทั้งลวดลายฉล ุที่สวยงามดูอ่อนช้อย ทั้งที่จั่วบ้าน บังลม ระเบียงตลอดจนไม้ช่องลมเหนือบานประตูและหน้าต่างล้วนเป็นศิลปะสวยงาม และหายาก สมควรอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างยิ่งและถึงแม้ว่าพ่อเจ้าพระฯ จะเป็นคลังจังหวัดที่มีฐานะและได้รับสัมปทานทำป่าไม้ แต่บ้านท่านไม่ได้ใช้ไม้ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นของโครงสร้างและน้ำหนักที่รับแต่อย่างไรแม้แต่เสาที่รับน้ำหนักทั้งหมด ยังใช้เสาไม้ขนาด ๘นิ้ว x ๘นิ้ว มิได้ใช้เสาใหญ่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงค่านิยมและภูมิปัญญาของชาวเมืองแพร่ในยุคสมัยก่อน ่ได้เป็นอย่างดี ในเรื่องการทนุถนอมทรัพยากรธรรมชาติและการรู้ซึ้งถึงความพอดี บ้านหรือคุ้มของพระวิชัยราชาหลังนี้
[mappress mapid=”457″]